วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ดิฉันนางสาวพรสวรรค์ เจริญพานิชย์ ขอนำเสนอความรู้ในเนื้อหาเรื่อง "...เทคโนโลยีการศึกษา..."

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม

1. อธิบายความหมาย และความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาได้ถูกต้อง
2. อธิบายมโนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา และยกตัวอย่างเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมได้
3. อธิบายและเปรียบเทียบลักษณะของเทคโนโลยีการศึกษา และนวัตกรรมการศึกษาได้
4. อธิบาย และเล่าประวัติความเป็นมา เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการศึกษาได้
5. อธิบายพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาได้ถูกต้องตามลำดับ
6. บอกเป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษาได้
7. อธิบายแนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีการศึกษา ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ.2542 ได้

วิชาเทคโนโลยีการศึกษา


จุดประสงค์
1. ให้เข้าใจความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาต่อการเรียนการสอน
2.ให้เข้าใจจิตวิทยา การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสอนและการใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ให้เข้าใจประเภทและศักยภาพของสื่อการสอนแต่ละชนิด
4. ให้เข้าใจหลักการเลือก การดัดแปลง การผลิต และการใช้สื่อการเรียนการสอน
5.ให้เข้าใจการเลือกเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน
6. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างสื่อการสอนโดยการป้อนข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์โดยการพิมพ์สัมผัสได้

สาระสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา

1. เทคโนโลยี เป็นวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและทางปฏิบัติ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง ทำให้มีการใช้เทคโนโลยีในสาขาต่าง ๆ เฉพาะทางเช่นการแพทย์ การกีฬา การสงคราม การศึกษา เป็นต้น
2. เทคโนโลยีการศึกษา เป็นกระบวนการที่พัฒนาระบบ และวิธีการตลอดจนการนำเครื่องมือและอุปกรณ์มาใช้ในการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย ทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ การเรียนรู้แบบรายบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาของโลกในอนาคต รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในด้านความรู้ ค่านิยม เศรษฐกิจ สังคม โดยเน้นกระบวนการพัฒนาคนมากขึ้น
4. เทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย มีแนวโน้มในการสนองความต้องการเป็นรายบุคคล และให้ความสำคัญต่อการนำไปใช้ในการจัดการศึกษามากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

........ ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ก็คือ ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาของไทย

การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในประเทศไทย จะมีทิศทางในการใช้ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1.6.1 มีแนวโน้มในการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในลักษณะต่อไปนี้ มีการใช้สื่อการ สอนเป็นรายบุคคลมากขึ้น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังใช้ระบบการศึกษาทางไกลมากขึ้นในระดับที่สูงกว่าประถมศึกษา
1.6.2 การใช้สื่อการศึกษาที่ผลิตขึ้นจากท้องถิ่นอย่างเหมาะสมจะมีบทบาทสำคัญ ๆ ทั้งนี้เพราะงบประมาณที่จำกัด โดย เฉพาะประเภทที่ยากจน
1.6.3 การจัดองค์การและการบริหารงานจะออกมาในรูปเป็นกลุ่ม เพื่อการประหยัด งบประมาณ ใช้งบประมาณให้ คุ้มค่าที่สุด และมีประสิทธิผลที่สุด
1.6.4 การวางหน้าที่ของสายงานโดยเฉพาะประเทศไทย จะมีรูปแบบที่คล้าย ๆ กัน แต่ขยาดเล็กใหญ่ตามความ เหมาะสมของงานแต่ละแห่ง
1.6.5 การวิจัยทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาและการหานวัตกรรมทางการศึกาาที่สามารถนำมาใช้ได้จริง ๆ เริ่ม มีมากขึ้น
1.6.6 แหล่งทรัพยากรการเรียน โดยเฉพาะบุคลากรในชุมชน เริ่มให้ความสนใจและให้ความร่วมมือกับฝ่ายการ ศึกษามากขึ้น
1.6.7 ปัจจุบัน รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อการศึกษา โดยเน้นการใช้สื่อการสอนและเทคโนโลยีเข้าช่วยแก้ปัญหา ทั้งนี้ได้กำหนดให้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นหมวดหนึ่งใน 9 หมวดมาตรา ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2542) ซึ่งเน้นว่า
1) ส่งเสริมสนับสนุนในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาทุกรูปแบบ
2) พัฒนาบุคลากรในด้านความรู้ ทักษะ การใช้ เทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
3) พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ และทักษะในการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและหาความรู้ด้วยตนได้ตลอดชีวิต
4) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการติดตามประเมินผล การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่าคุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

..........การพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพ ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง อุตสาหกรรม นั้น จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายดังนี้1.5.1 ขยายขอบเขตของทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้กว้างขวางออกไป โดยคำนึงถึง
......1) คน กำหนดให้คนเป็นแหล่งทรัพยากรเรียนรู้ที่สำคัญ เช่น ครู ตำรวจ เกษตรกร
......2) วัสดุเครื่องมือ ประเภทโสตทัศนูปกรณ์ รวมทั้งการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษาให้มากขึ้น
......3) เทคนิคการสอน ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
......4) สถานที่ต่าง ๆ ให้สามารถเป็นแหล่งประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ไร่นา ทะเล องค์การรัฐบาล
1.5.2 เน้นการเรียนแบบเอกัตบุคคล โดยการจัดหาสื่อเพื่อสนองความต้องการ และ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.5.3 การนำวิธีวิเคราะห์ระบบการศึกษา โดยใช้การปฏิบัติหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมาใช้ในการเรียนการสอน

พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา

..........ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียวเพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่างโจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรกธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมากสำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

.............การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เรามักจะพบ ว่าเมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)
นวัตกรรม = นว (ใหม่) + อัตตา (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)
ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายมนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้นลักษณะของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้
1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)
2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)
3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)

มโนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา

............เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศน์ศึกษาให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ หรือโสตทัศนูปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษามีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจพิจารณาจากความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ ดังนี้
.....1.2.1 ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่า มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน เน้นเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ มากกว่าจะคำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
.....1.2.2 ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ หมายถึง การนำวิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเน้นเรื่องเทคนิคที่เป็นวิธีการ และกระบวนการเรียนการสอนมากกว่าวัสดุ และเครื่องมือ